การจัดการความรู้ทางการศึกษา
วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558
บันทึกการเรียนรู้ประจำวันที่ 27 สิงหาคม 2558
"โมเดลปลาทู" เป็นโมเดลที่เปรียบการจัดการความรู้เป็น ๓ ส่วน คือ
ส่วนหัวและตา หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางการจัดการความรู้ เป็นส่วนที่ต้องตอบให้ได้ว่าทำการจัดการความรู้ไปเพื่ออะไร ประเด็นที่สนใจที่จะนำมาทำการจัดการความรู้นั้นคือเรื่องอะไร เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ขององค์กรอย่างไร ควรเป็นความเห็นร่วมกันของคนในองค์กร โดยสร้างความเข้าใจในประโยชน์ที่จะได้รับ และร่วมกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
ส่วนลำตัวปลา หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ (Tacit knowledge) โดยอาจใช้รูปแบบของ best practice การสอนงานในองค์กร การศึกษาเพิ่มเติม เรียนรู้ความสำเร็จของผู้อื่น หรือชุมชนนักปฏิบัติ และอำนวยให้เกิดการเรียนรู้แบบเป็นทีม เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนความรู้และเกิดนวัตกรรมในที่สุด
ส่วนหางปลา หมายถึง ส่วนของคลังความรู้ที่ได้จากการเก็บสะสมเกร็ดความรู้ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี โดยยึดหลักให้มีการสรุปประเด็นที่สำคัญ มีการอ้างอิงที่ถูกต้อง ง่ายต่อการสืบค้นและนำไปใช้ สะดวกต่อการถ่ายโอนและกระจายความรู้ ถือเป็นการสกัด Tacit knowledge ให้เป็น Explicit knowledge แล้วนำไปใช้เพื่อพัฒนาและยกระดับให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ต่อไป
ที่มา : http://psu-mit13.com/1062/jl1062/2015-04-30-14-58-42/12-2015-05-01-17-29-45
วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558
สรุปท้ายบทเรียน การจัดการความรู้ทางการศึกษา วันพฤหัสที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558
จากที่ผมได้เรียนในคาบนั้น ทำให้ผมได้รู้ถึงความหมายของความรู้ว่าทุกคนมีความรู้อยู่ในตัว อยู่ที่ว่าจะได้นำมาใช้หรือไม่ ยกตัวอย่าง เช่น เขาถามเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์ของรถจักรยานยนต์ว่ามีอะไรบ้าง แต่เราตอบไม่ได้ นั่นไม่ได้หมายความว่าเราโง่ เพียงแค่เราไม่มีความรู้ในด้านนั้น เราอาจจะมีความรู้ทางด้านอื่น เช่น ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ดังนั้น คำถามแต่ละคำถามไม่สามารถวัดระดับความฉลาดของคนเราได้ และผมได้รู้ถึงจุดเริ่มต้นของความรู้ จุดเริ่มต้นของความรู้เริ่มจากคน2คนมาเล่าประสบการณ์ของตนเองให้ฟัง โดยแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา เช่น ผมมีความรู้เกี่ยวกับการซ่อมประตูผมก็นำมาเล่าให้เพื่อนฟัง ส่วนเพื่อนมีความรู้เกี่ยวกับการซ่อมหลอดไฟแล้วนำมาเล่าประสบการณ์ให้ผมฟัง ดังนั้นผมและเพื่อนนำประสบการณ์ของแต่ละคนมาแลกเปลี่ยนกันจนทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่นั่นเอง และผมยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปภาพความรู้เปรียบเสมือนน้ำแข็ง โดยไม่มีคำบรรยายใต้ภาพใดๆ มีแต่ภาพภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ขึ้นมาบนพื้นน้ำเพียงเล็กน้อย แต่ใต้น้ำนั้นฐานของมันลึกล้ำยิ่งกว่าคำบรรยาย ภาพนี้ผมเปรียบเสมือนว่า อย่ามองคนแค่ภายนอกให้มองจากข้างใน คนที่ไม่มีอะไรดีภายนอกภายในความคิดของเขาก็อาจจะทำให้โลกนี้เปลี่ยนได้ สุดท้ายระดับของความรู้ จะมี Know-what Khow-how Khow-why Care-why เป็นขั้นบันใดจากรู้มากไปน้อย ผมอยู่ใน Khow-how
โดย นายธีรพงศ์ ขลุกเอียด 5681135014
โดย นายธีรพงศ์ ขลุกเอียด 5681135014
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)